วิดีโอการศึกษา

Valentine

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรม

นวัตกรรมทางการศึกษาที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน

          E-learning

          ความหมาย e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ"เช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning หมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ

          1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room

          2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น

          ความหมายของ e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย (Frequently Asked Question : FAQ) ในเวป www.elearningshowcase.com ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมาย เดียวกับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ระบบดิจิตอล ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี ค
.ศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business

          การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)
 

อ้างอิง: บวร เทศารินทร์. นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา. [ออนไลท์]. เข้าถึงได้
                          จาก : http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm. ( วันทีค้นข้อมูล : 19 กรกฏาคม 2552 ).




ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ มั่นใจคอมพิวเตอร์เนวิเกเตอร์ ช่วยผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมมีความแม่นยำสูง
ศัลยแพทย์ไทย เผยการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เนวิเกเตอร์จะช่วยทำให้การผ่าตัดวางผิวข้อเข่าเทียมมีความแม่นยำสูงขึ้น  ระบุหากมีการวางผิวข้อเข่าเทียมคลาดเคลื่อน จากตำแหน่งที่ควรจะเป็นมากกว่า 3 องศาหรือเทียบเท่ากับมุมที่เข็มวินาทีของนาฬิกา เดินไปเพียงแค่ครึ่งวินาที จะเพิ่มโอกาสที่ผู้ป่วยที่เปลี่ยนข้อเข่าเทียม ต้องกลับมาผ่าตัดแก้ไขข้อเข่าเทียมซ้ำได้ถึง 8 เท่า
 นพ.พฤกษ์   ไชยกิจ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกและข้อ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เนวิเกเตอร์ จะช่วยทำให้การผ่าตัดวางผิวข้อเข่าเทียมมีความแม่นยำสูงขึ้น 
 ทั้งนี้ จากการวิจัยพบว่าในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หากมีการวางผิวข้อเข่าเทียมคลาดเคลื่อน จากตำแหน่งที่ควรจะเป็นมากกว่า 3 องศาหรือเทียบเท่ากับมุมที่เข็มวินาทีของนาฬิกา เดินไปเพียงแค่ครึ่งวินาที จะเพิ่มโอกาสที่ผู้ป่วยที่เปลี่ยนข้อเข่าเทียม ต้องกลับมาผ่าตัดแก้ไขข้อเข่าเทียมซ้ำได้ถึง 8 เท่า (จากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 24) ซี่งการใช้คอมพิวเตอร์เนวิเกเตอร์ช่วยในการผ่าตัดนั้น จะเพิ่มความแม่นยำของการวางตำแหน่งผิวข้อเข่าเทียม และลดความคลาดเคลื่อนดังกล่าวได้
 ในปัจจุบัน ในวงการแพทย์ มีการนำคอมพิวเตอร์เนวิเกเตอร์ช่วยในการผ่าตัด เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือศัลยแพทย์มากขึ้น หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์เนวิเกเตอร์ช่วยในการผ่าตัดนั้นจะเริ่มจากการป้อนข้อมูลของขนาดกระดูก ลักษณะการสึกของผิวข้อเข่า และความโก่งหรือผิดรูปของผู้ป่วยแต่ละคนที่จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมใส่ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนทำการผ่าตัด 
 จากนั้นระบบคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลข้อมูล และสร้างแบบจำลองของข้อเข่าผู้ป่วยนั้น ขึ้นมาเป็นภาพ 3 มิติ และคำนวณองศาและตำแหน่งที่ถูกต้องในการวางผิวข้อเข่าเทียมให้ ภาพที่ปรากฏบนจอมอนิเตอร์จะเป็นภาพแบบเรียลไทม์ ซึ่งหากมีการคลาดเคลื่อนขึ้น ศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดก็สามารถทำการแก้ไขได้ทันที  เพื่อการวางผิวข้อเข่าเทียมอย่างแม่นยำ
  การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งในแบบดั้งเดิม หรือใช้การผ่าตัดด้วยวิธีคอมพิวเตอร์เนวิเกเตอร์ช่วยในการผ่าตัดก็ตาม ศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อควรจะต้องมีความชำนาญ ซึ่งคอมพิวเตอร์เนวิเกเตอร์ เปรียบเสมือนเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ศัลยแพทย์ สามารถทำการผ่าตัดได้แม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถใช้งานผิวข้อเข่าเทียมได้ยาวนานยิ่งขึ้น
 อย่างไรก็ตาม อายุการใช้งานของผิวข้อเข่าเทียม นอกจากการวางตำแหน่งผิวข้อเข่าเทียมที่ถูกต้องแม่นยำแล้วยัง มีปัจจัยอีกหลากหลายเข้ามาเกี่ยวข้อง  อาทิ น้ำหนักตัวของผู้ป่วย, การใช้งานข้อเข่าอย่างถูกต้องในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่าด้วย
 ในปัจจุบัน ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าทำให้ มั่นใจได้ว่า อายุการใช้การของผิวข้อเข่าเทียมหลังการผ่าตัดจะมีอายุเฉลี่ย 10-15 ปี และมีแนวโน้มว่าอายุการใช้งานจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

อ้างอิง: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20110202/375206/คอมพิวเตอร์เนวิเกเตอร์-เทคโนโลยีเพื่อผู้สูงวัย.html



ก๊าซชีวภาพจากมูลสุกรมาถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งนับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ ในขณะที่พลังงานที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลกำลังขาดแคลน
ก๊าซชีวภาพก็เป็นพลังงานทดแทนชนิดหนึ่งที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้ในปริมาณสูง อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะสามารถผลิตพลังงานทดแทนได้ในปริมาณที่มาก สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญและไม่ควรมองข้ามคือ การพัฒนาอุปกรณ์สำหรับนำไปใช้ เพื่อผู้ใช้ได้รับประสิทธิภาพอย่างสูงสุด
 ด้วยตระหนักในความสำคัญดังกล่าว นาย เรวัติ ซ่อมสุข  นักวิจัยจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงได้คิด พัฒนาเครื่องกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟล์ สำหรับก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ
 อย่างที่ทราบกันดีว่า ก๊าซชีวภาพคือก๊าซที่เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ได้จากการหมักของเหล้า เบียร์ แป้งมันสำปะหลัง และมูลสัตว์จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์  ส่วนใหญ่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานความร้อน เช่นใช้หุงต้มในครัวเรือน เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์
 นายเรวัติเปิดเผยว่า องค์ประกอบของก๊าซชีภาพ ประกอบด้วย ก๊าซมีเทน(ร้อยละ55-60) คาร์บอนไดออกไซค์(ร้อยละ39-44) และอีกร้อยละ 2 ได้แก่ ไอโดรเจนซัลไฟล์ และไอน้ำ ซึ่ง ไฮโดรเจนซัลไฟด์นี่เอง ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการผุกร่อนของเครื่องยนต์และอุปกรณ์ที่ใช้แก๊ส ซึ่งแม้ ไอโดรเจนซัลไฟด์จะมีปริมาณที่ไม่มาก แต่ก็มีอันตรายต่อสุขภาพ และส่งกลิ่นรบกวน
 หลังจากที่ได้ศึกษาทำให้พบว่า กระบวนการกำจัดไอโดรเจนซัลไฟล์มีความสำคัญ แต่ในปัจจุบันการกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟล์ยังเป็นเรื่องยุ่งยากเกษตรกรไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง  ทำให้เกิดแนวคิดประดิษฐ์ อุปกรณ์ กำจัดไฮโดรเจนซัลไฟล์ขึ้น
 เครื่องกำจัดไอโดรเจนซัลไฟล์ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ถังที่1 เป็นถังบรรจุเศษเหล็กฝอยซึ่งฝอยเหล็กทำหน้าที่กำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ มีการติดตั้งถังสำหรับใส่ปูนขาว(ได้จากการผสมระหว่างปูนขาว กับน้ำ ในอัตราส่วน ปูนขาว 20 กรัม ต่อน้ำ 30ลิตร) ถังที่ 2 ถังระบบสเปรย์น้ำ และถังที่ 3 บรรจุถ่านเพื่อกำจัดกลิ่นของก๊าซที่ได้จากมูลสุกร
 จากการทดสอบแล้วพบว่า ค่าของไอโดรเจนซัลไฟล์ลดลงเป็นที่น่าพอใจ เมื่อนำนำก๊าซชีวภาพมาผ่านชุดกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์แล้วบรรจุลงถังก๊าซหุงต้มขนาด 15 กก.ที่ระดับรงดัน 180 psi เวลาที่ใช้ในการบรรจุ 14.50 นาที สามารถนำไปใช้งานได้ 1 ชั่วโมง 20 นาที และสามารถลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ้างอิง: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20110131/374501/มทร.ธัญบุรีพัฒนาเครื่องกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์.html


สวทช.ควง กสทช.จัดตั้งศูนย์สาธิตอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จัดตั้ง ศูนย์สาธิตอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (ศอบท.) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ที่จำเป็นต้องใช้งานในชีวิตประจำวัน  โดยให้ความสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะคนพิการให้มีความเท่าเทียมกับบุคคลทั่วๆไป
               การดำเนินการของ ศอบท. ได้แบ่งเป้าหมายเป็น 6 กลุ่ม  คือ กลุ่มคนพิการทางการมองเห็น   กลุ่มคนพิการทางการได้ยิน  กลุ่มคนพิการทางการพูด  กลุ่มคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว  กลุ่มคนพิการทางสติปัญญาและบุคคลออทิสติก  และกลุ่มผู้สูงอายุ  โดยเทคโนโลยีเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุเกิดจากการวิจัยและพัฒนาของสถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เนคเทค สวทช.
            แผนการดำเนินงานต่อไป คือ กระทรวงวิทย์ฯ และ ศอบท. จะช่วยกันเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จัก ศอบท. มากขึ้น โดยรณรงค์ให้ความรู้เรื่องอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคมที่คนพิการและผู้สูงอายุจำเป็นต้องใช้งาน และเข้ามารับบริการของ ศอบท.  ซึ่งมีทั้งการให้บริการภายในศูนย์สาธิตฯ เอง และมีการจัดนิทรรศการนอกสถานที่  นอกจากนี้ ยังมีการบริการลงชุมชน โดยจัดรถนิทรรศการเคลื่อนที่ ไปให้ความรู้แก่คนพิการและผู้สูงอายุที่อยู่ห่างไกล
            ดังนั้น ศูนย์ ศอบท. นี้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความร่วมมือระหว่าง กระทรวงวิทย์ฯ และ กสทช. ที่จะช่วยกันส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันที่จะได้รับบริการอย่างทั่วถึงของคนพิการและผู้สูงอายุ ตลอดจนลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้อย่างแท้จริง

อ้างอิง: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20110128/374291/ศูนย์บริการโทรคมนาคมเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ.html


อีบุ๊ค..มาแรง ยุค'ไฮบริด มีเดีย'
Simba Information คาดว่ามียอดจำหน่าย 12 ล้านเครื่องทั่วโลก และจะมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 43 ล้านเครื่องในปี 2554  ซึ่งผู้ซื้อไอแพด จะมีผู้ใช้งานอีบุ๊คประมาณ 65% หรือราว 7.8 ล้านคนในปี 2553 และเพิ่มเป็น 30 ล้านคนในปี 2554 เรียกว่าเติบโตแบบก้าวกระโดดกว่า 400% เลยทีเดียว
สมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ประเมินแนวโน้มหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบุ๊คในประเทศไทย จากการสำรวจผู้เข้าชมงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ช่วงเดือน ต.ค.2553 จำนวน 1,316 ราย พบว่ามีจำนวน 40 ราย หรือ 3% ที่อ่านหนังสือจากอีบุ๊ค และผู้เข้าชมงานจำนวน 1,071 ราย หรือ 81.4%  บอกว่ายังไม่มีอีบุ๊ค

อย่างไรก็ตาม ตลาด
อีบุ๊คในประเทศไทย มีโอกาสได้รับความนิยมสูงในอนาคต เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสาร ที่ส่งผลให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ดูได้จากอัตราการเพิ่มของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศในแต่ละปี

นอกจากนี้อีรีดเดอร์ เริ่มมีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากกระแสความนิยมที่แพร่หลายจากต่างประเทศ

สังเกตได้จากการเปิดตัวของเครื่อง อีรีดเดอร์ รุ่นและแบรนด์ต่างๆ ในประเทศไทย ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ไอแพด มียอดขาย 200 เครื่องใน 1 ชั่วโมงแรกของการเปิดตัว ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากเครื่องอีรีดเดอร์ ที่มีขนาดเล็กลง มีน้ำหนักเบา และพกพาติดตัวได้ง่าย,
ซอฟต์แวร์ อีบุ๊ค รีดเดอร์ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายราย และบางซอฟต์แวร์ เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี และราคาของอีรีดเดอร์ ถูกลงขณะที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

 การเติบโตของ
อีบุ๊ค เชื่อว่าจะส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือของแต่ละคน รวมทั้งอุตสาหกรรมหนังสือ สำนักพิมพ์ ผู้จำหน่ายหนังสือ ให้หันมาสนใจโครงสร้างทางธุรกิจแบบผสม (Hybrid Media) ระหว่างการพิมพ์หนังสือเป็นเล่มๆ และการทำคอนเทนท์บน e-Paper ที่ผู้บริโภคสามารถดาวน์โหลดได้อย่างสะดวก และเข้าถึงได้มากขึ้นในราคาที่ถูกลง

ผลในเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมหนังสือ คือ การสร้างข้อมูลเนื้อหาบน
อีบุ๊ค สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว สวยงาม มีต้นทุนต่ำ และสามารถกระจายสินค้าได้ทั่วโลก และยังช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษ ที่เป็นต้นทุนหลักของอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม
อีบุ๊ค ในประเทศไทยขณะนี้ยังมีปัญหาที่ไม่สามารถหาข้อสรุปเรื่อง ลิขสิทธิ์ของเจ้าของหนังสืออีบุ๊ค และสิทธิของผู้ใช้งานได้ รวมทั้งมาตรฐานการผลิตอีบุ๊ค ด้านรูปแบบเนื้อหา การใช้ภาษา และการนำเสนอคอนเทนท์ อาจไม่เหมาะสมกับผู้อ่านบางกลุ่ม และมาตรฐานการจัดจำหน่ายของผู้ผลิต ด้านการกำหนดราคา และการจัดการสต็อกหนังสือ ให้หนังสือทั้งสองรูปแบบ ทั้งอีบุ๊ค และหนังสือเล่ม สามารถแข่งขันกันได้

แม้ว่าจะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ผู้อ่านหนังสือคนไทยจะให้ความสนใจ
อีบุ๊ค มากขึ้นหรือไม่ หรือ อีบุ๊ค จะสามารถแทนที่หนังสือเล่มได้หรือไม่ ผู้ผลิตเนื้อหา สำนักพิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสำนักพิมพ์ ควรกำหนดแนวทางในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบุ๊คให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง   เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย และเพื่อเพิ่มให้โอกาสให้แก่ผู้อ่านหนังสือ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังจำนวนผู้อ่านหนังสือที่จะมากขึ้นได้ในอนาคต

อ้างอิง: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20110131/374698/อีบุ๊ค..มาแรง-ยุคไฮบริด-มีเดีย.html


เอ็มเทคโชว์ซอฟต์แวร์วัดก๊าซเรือนกระจก
เอ็มเทค/สวทช. ร่วมญี่ปุ่น พัฒนา “ ซอฟต์แวร์ LCA” สำเร็จ ใช้วัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ครั้งแรกของอาเซียน ตอบสนองสินค้ากว่า 65 ชนิด พร้อมยื่นขอฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นต์ได้ทันที
           ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิดการใช้งานซอฟต์แวร์ LCA   ใน วันอังคารที่ 25 มกราคม 2554 เวลา 10.00 น. ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์คกรุงเทพฯ
 ในงานดังกล่าวยังมีกิจกรรมการบรรยายถึงทิศทางกระแสโลกที่เกี่ยวกับ LCA/LCI และการประยุกต์ใช้หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตหรือ LCA ของอุตสาหกรรมทั่วโลก และแสดงวิธีการคำนวณโดยใช้ซอฟแวร์ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทยครั้งแรกของเมืองไทย รวมถึงการให้ความรู้วิธีการประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตที่เหมาะสมกับประเทศไทย พร้อมชมนิทรรศการภาครัฐและอุตสาหกรรมที่มีการใช้หลักการนี้
        ทั้งนี้ ตามที่ อียู มีมาตรการตรวจสอบสินค้าและบริการที่จะส่งออก จำเป็นต้องมีฉลากที่บ่งบอกปริมาณการก๊าซหรือคาร์บอนฟุตปริ้นต์ ภายในเดือนกรกฎาคม 2554 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงร่วมกับ Japan External Trade Organization (JETRO), Bangkok เปิดตัวระบบการจัดการฐานข้อมูล ที่ใช้ซอฟแวร์คำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก ครั้งแรกของเมืองไทยและภูมิภาคอาเซียน
  เพื่อคำนวณและประเมินเชิงปริมาณของการใช้ทรัพยากร ที่ส่งผลกระทบในการเพิ่มปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก อันเนื่องมาจากการผลิต ผลิตภัณฑ์และบริการ โดยพิจารณาตลอดวัฎจักรชีวิต ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค รวมทั้งการนำไปกำจัดทิ้ง 
 ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถที่จะใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวเทียบเคียงกับประเภทสินค้าบริการ เพื่อขอรับรองการใช้ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นต์ ตามหลักสากลที่กำหนดไว้

อ้างอิง:http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20110123/373294/เอ็มเทคโชว์ซอฟต์แวร์วัดก๊าซเรือนกระจก.html


คลังหนังสือดิจิทัล ช่องทางอ่านของหนอนหนังสือยุคใหม่นึกไม่ถึงว่า หลังจากแอปเปิลเปิดตัวจำหน่ายไอแพดอย่างเป็นทางการในไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว อีกสองอาทิตย์ต่อมาไอแพดขาดตลาด ต้องรอจนช่วงคริสต์มาสถึงเข้ามารอบใหม่
 ที่น่าสนใจคือ ในยุทธภพคอมพิวเตอร์แท็บเลตไม่ได้มีแค่ไอแพดที่เหมือนไอโฟน แต่ไม่มีฟังก์ชันโทรศัพท์ ยังมีซัมซุง กาแลคซี่ แทบ จอ 7 นิ้ว และอีกหลายค่าย อย่าง เดลล์ สตรีก จอ 5 นิ้ว กำลังเข้าคิวรออยู่ สามารถใช้คุยโทรคุยสายและเข้าเน็ตดูหน้าเว็บแบบเต็มจอได้ด้วย
 แนวโน้มที่เห็นชัดเจนอีกประการคือ ผู้ใช้เริ่มใช้งานเข้าเว็บอ่านข่าว ดูคลิป ฟังเพลงจากอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า "ดิจิทัล คอนเทนต์" มากขึ้นเรื่อยๆ
 สุรัตน์ บัณฑิตลักษณะ กรรมการผู้จัดการบริษัท โพลาร์ เว็บแอปพลิเคชั่น จำกัด วัย 32 ปี มองเห็นรูปแบบชีวิตของคนรุ่นใหม่ติดหนึบอยู่กับมือถือ และไอแพดมากขึ้น และคิดว่า การเปิดร้านหนังสือออนไลน์ถึงเวลาสุกงอมแล้ว เว็บ www.ebooks.in.th คลังหนังสือออนไลน์ที่รวบรวมหนังสือภาษาไทยจึงปรากฏตัวขึ้นมารองรับความต้องการอ่านอีบุ๊กของหนอนหนังสือคนไทย
 ร้านหนังสืออีบุ๊ก และอุปกรณ์อีบุ๊กในต่างประเทศเกิดขึ้นมาก่อนนานแล้ว ยกตัวอย่าง อะเมซอน (amazon.com) นอกจากจำหน่ายหนังสือแล้ว ยังจำหน่ายเครื่องคินเดิลสำหรับอ่านอีบุ๊กด้วย ส่วนค่ายสำนักพิมพ์ บาร์นแอนด์โนเบิลก็ออกอุปกรณ์อ่านที่ชื่อ นุก ด้วยเช่นกัน ฟากญี่ปุ่น โซนี่ รีดเดอร์ คือตัวชูโรง แต่ที่ดังในเมืองไทยคือ ไอแพดของแอปเปิล
 กระแสดังกล่าวทำให้สุรัตน์ตัดสินใจทำคลังหนังสือไทยออนไลน์ รวมถึงพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อให้หนังสือสามารถเปิดอ่านได้บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมือถือ ไอโฟน ไอแพด หรือแท็บเลตที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ รวมถึงเพลย์บุ๊กจากค่ายแบล็กเบอร์รี่ ที่เขาเชื่อว่าจะเข้ามาปลุกกระแสการอ่านออนไลน์บ้านเราให้คึกคัก
 “ผมเชื่อว่า อีกไม่นานคนจะพกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตัวมากขึ้น และเริ่มหันมาอ่านหนังสือบนอุปกรณ์พกพาจนเป็นเรื่องปกติ คล้ายกับยุคเริ่มต้นการมาของไอพอด ที่ทำให้รูปแบบการฟังเพลงของคนค่อยๆ เปลี่ยนไป” เขามั่นใจ
 ร้านหนังสือดิจิทัลเคยปรากฏตัวในไทยมาแล้ว แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เหตุผลสำคัญเป็นเพราะจำนวนอุปกรณ์พกพายังมีไม่มากพอจนกระตุ้นความต้องการอ่านหนังสือบนอุปกรณ์พกพา อีกทั้งการอ่านอีบุ๊กในคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่สะดวก ทำให้คลังหนังสือดิจิทัลในยุคแรกอยู่ในรูปแบบออฟไลน์มากกว่า
 “การจะทำให้คลังหนังสือเกิดต้องมีระบบที่มากกว่าแจกฟรี คือขายได้ด้วย โดยหนังสือในเวอร์ชั่นออนไลน์ต้องมีราคาต่ำกว่าหนังสือปกเดียวกันที่วางอยู่บนแผง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสามารถทำได้ เพราะหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีต้นทุนค่าจัดพิมพ์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงสุดของระบบการพิมพ์ ณ ปัจจุบัน” เขาอธิบาย
 ไม่เฉพาะแต่สำนักพิมพ์เท่านั้นที่ใช้ www.ebooks.in.th เป็นช่องทางจำหน่ายหนังสือ เจ้าของผลงานสามารถสมัครสมาชิกและอัพโหลดไฟล์หนังสือที่เป็นพีดีเอฟได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านสำนักพิมพ์ ผลงานหนังสือจะปรากฏให้คนที่สนใจได้ดาวน์โหลดไปอ่าน เจ้าของผลงาน และสำนักพิมพ์ยังลดต้นทุนค่ากระดาษ และค่าจัดส่งลงได้อีกมากมาย
 อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันโครงการสร้างคลังหนังสือออนไลน์ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังไม่เปิดตัวเป็นทางการ แต่ตลอด 1 เดือน ที่ผ่านมา หลังจากเปิดหน้าเว็บ ebooks.in.th มีหนังสือที่ถูกแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลบรรจุอยู่ในคลังแล้ว 300 เล่มจากเครือข่าย เช่น ข่าวและบทความประชาสัมพันธ์จากมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร หนังสือจากไอเน็ต ตลอดจนไฟล์อีบุ๊กภาษาไทยที่ถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ให้มาปรากฏอยู่ในคลังหนังสือ
 คลังหนังสือซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือที่แจกฟรีบนเว็บอยู่แล้ว เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มช่องทางการอ่านและเข้าถึงได้มากขึ้น โดยคาดว่าเมื่อแอพพลิเคชั่นอีบุ๊กได้รับการอนุมัติ และปรากฏอยู่ในแอพสโตร์ขอแอปเปิล ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เมื่อถึงเวลานั้นบรรยากาศของคลังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะคึกคักขึ้น
 “สำหรับเรื่องของรายได้นั้น ในปีแรกเรายังไม่ได้หวังกับรายได้มากนัก เพียงแต่อยากให้คนไทยมีแอพพลิเคชั่นอีบุ๊กเป็นมาตรฐานบนเครื่อง ทันทีที่อยากอ่านหนังสือไทยต้องคิดถึงเรา รายได้คงมาในยุคหลังที่ไทยอีบุ๊กเป็นที่รู้จัก และต่อไปหนังสือที่ขายบนแผงอาจจะเปิดตัวพร้อมกับหนังสือในโลกออนไลน์ก็เป็นได้

อ้างอิง: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20110118/372531/คลังหนังสือดิจิทัล-ช่องทางอ่านของหนอนหนังสือยุคใหม่.html


หลักสูตรนิติวิทยาดิจิทัล'ล่าโจรคอมพิวเตอร์'
พัฒนาการที่ก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในทุกสังคมทั่วโลก แม้จะเพิ่มความสะดวกสบายในการสืบค้นข้อมูลและเชื่อมโยงเครือข่ายหลายกลุ่มให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
แต่ในอีกมุมหนึ่งกลับกลายเป็นดาบสองคมให้กับข้อมูลมหาศาล ในด้านการสุ่มเสี่ยงต่อการถูกแฮ็กเกอร์มือดีฉกไปใช้ประโยชน์โดยไม่รับอนุญาต จนเป็นที่มาของการจัดทำหลักสูตรนิติวิทยาดิจิทัลเพื่อย้อนรอยหาผู้ทำผิดมาลงโทษ
ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายถึงหลักสูตรนิติวิทยาดิจิทอลว่า จะทำหน้าที่ผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนิติวิศวกรรมให้กับภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่ป้องกันและปราบปราม ย้อนรอยไปยังผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์และนำตัวมาดำเนินการทางกฎหมาย
หลักสูตรนิติวิทยาดิจิทัลพร้อมจะเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2554 นี้ โดยตั้งเป้าจะผลิตมหาบัณฑิตรุ่นละ 40 คน ป้อนให้กับหน่วยงานของรัฐและเอกชน โดยแต่ละรุ่นที่จบจะถูกเชิญให้ทำวิจัยและพัฒนาบุคลากรด้านนิติวิศวกรรมร่วมกันในอนาคต”คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าว
หลักสูตรนิติวิทยาดิจิทัล เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ 
ในความร่วมมือดังกล่าวมีแผนจะจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการนวัตกรรมและการเรียนรู้ด้านนิติวิศวกรรม หรือห้องปฏิบัติการการสืบค้นและกู้ข้อมูลบนคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และหลักสูตรนิติวิทยาดิจิทัลด้วยงบประมาณ 10 ล้านบาท
นอกจากนี้ในปี 2555 ยังมีแผนทุ่มงบอีกประมาณ 20 ล้านบาทในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการการสืบค้นและกู้ข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือ และห้องปฏิบัติการความมั่นคงบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับทำวิจัยและพัฒนาบุคลากร รวมถึงเป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานด้านการตัดสินคดีในอนาคต
“เป้าหมายของการจัดตั้งหลักสูตรและห้องปฏิบัติการดังกล่าว เพื่อพัฒนาและผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนิติวิศวกรรมให้กับกระบวนการยุติธรรมของภาครัฐและการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบเน็ตเวิร์คในภาคเอกชน”คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวและว่า ที่ผ่านมาคนที่ทำงานในด้านนิติวิศวกรรมที่เรียนจบด้านนี้โดยตรงมีน้อยมากและถือว่าขาดแคลน ส่วนมากเรียนจากหลักสูตรระยะสั้นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อทำงานในองค์กรของตนเองโดยเฉพาะเท่านั้น
นิติวิทยาดิจิทัลเป็นหลักสูตรปริญญาโทในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ใช้เวลาเรียนประมาณ 2 ปีจบ ผู้ที่จะมาเรียนควรมีทักษะพื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ รักที่จะแสวงหาความจริง พร้อมเปิดรับและสนุกกับการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ
ทั้งนี้คนที่มาสอนเป็นอาจารย์จากม.มหิดล และผู้เชี่ยวชาญจากด้านนอกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านนิติวิทยาโดยตรง เพราะบางเรื่องอาจไม่ได้ต้องการแค่เพียงความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ล้วนๆ แต่ต้องการคนที่มีประสบการณ์ตรงและทำงานจริงในด้านนิติวิศวกรรมมาช่วยถ่ายทอดความรู้ด้วย
นายดล บุนนาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา บอกว่า ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้มีเยอะมากเท่าที่การขยายตัวของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ รถไฟ ศูนย์ควบคุมการบิน เครื่องมือรักษาในโรงพยาบาล โทรศัพท์มือถือ และอื่นๆอีกมากมายที่มีระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์สามารถเอาผิดได้แทบทั้งหมด
ยกตัวอย่างกรณีวิกิลีกส์ ที่นำข้อมูลลับออกมาเปิดโปงให้คนหมู่มากได้รับรู้ สามารถมองการกระทำดังกล่าวได้สองแง่สองมุม มุมหนึ่งในแง่ของความมั่นคงของรัฐซึ่งทุกประเทศตระหนักว่าความลับที่เป็นเรื่องสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงของประเทศ และมีผลกระทบต่อคนหมู่มาก ก็สามารถเอาผิดจากผู้เปิดเผยได้ โดยโทษที่รับขึ้นอยู่กับกฏหมายของแต่ละประเทศแต่อาจไม่รุนแรงมากนัก
“โทษของการล้วงข้อมูลของรัฐ ความรุนแรงในการลงโทษขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ประเทศ สำหรับประเทศไทยถือว่าหนักที่สุดแล้ว โดยความผิดการเปิดเผยข้อมูลด้านความมั่นคงของรัฐสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิตทีเดียว”ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา กล่าว
ที่ผ่านมาวิกิลีกส์มองการทำงานของตัวเองในแง่ของสิทธิเสรีภาพ ว่าประชาชนมีสิทธิที่จะรับรู้ แต่บางข้อมูลหากได้ข้อมูลมาด้วยการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานอื่นโดยตรงก็มีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์โดยตรงอยู่แล้ว แต่หากเขาได้ข้อมูลจากการรวบรวมเองโดยชอบธรรม การเอาข้อมูลออกมาเปิดโปงซึ่งมีการพาดพิงถึงบุคคลอื่นมีผลกระทบต่อคนใดคนหนึ่งอย่างชัดเจนก็อาจผิดคดีหมิ่นประมาทได้เช่นกัน
ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 26-28 มกราคม 2554 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 23(23rd WUNCA) และการประชุมวิชาการทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Conference on Computer Information Technologies หรือ CIT2011) และ การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการบริหารและจัดการเครือข่ายยูนิเน็ต UniNet Network Operation and Management Workshop (UniNOMS2011) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

อ้างอิง: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20110120/373055/หลักสูตรนิติวิทยาดิจิทัลล่าโจรคอมพิวเตอร์.html


สธ.ทดสอบถุงยางอนามัย    กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลทดสอบปริมาณ สารหล่อลื่นในถุงยางอนามัยยี่ห้อต่างๆ ของบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทยและถุงยางอนามัยแจกฟรีของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 60 ตัวอย่าง พบว่าทุกตัวอย่างมีปริมาณ       สารหล่อลื่นอยู่ในเกณฑ์กำหนด ซึ่งตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดปริมาณซิลิโคนออยล์ 400 ถึง 700 มิลลิกรัม พร้อมเตือนใช้สารหล่อลื่นไม่ถูกต้อง ถุงยางอนามัยอาจแตกได้

 ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า         
สารหล่อลื่นที่นิยมใช้เติมในถุงยางอนามัยก่อนบรรจุซอง เพื่อช่วยให้ลื่น                              ไม่ฝืด สะดวกในการใช้ คือ ซิลิโคน ออยล์ (silicone oil) สารหล่อลื่นมีหลายชนิด             ทั้งในรูปน้ำมัน เจลลี่ ครีม โลชั่น ขี้ผึ้ง
 สารเหล่านี้แบ่งประเภทตามชนิดตัวละลายเป็น          2 ประเภท คือ ประเภทละลายในน้ำ (water-based lubricant) เช่น เค-วาย เจลลี่               คิว-ซี เจลลี่ กลีเซอรีน เป็นต้น และประเภทละลายในน้ำมัน (oil based lubricant)  เช่น   เบบี้ออยล์  วาสลีนครีม ขึ้ผึ้งทาปาก น้ำมันทาผิว โลชั่นทาผิว แฮนด์โลชั่น วาสลีน    อินเทนซีพแคร์โลชั่น ปิโตรเลียม เจลลี่ น้ำมันพืช โดยสารละลายประเภทนี้ไม่ควรใช้ กับถุงยางอนามัย เพราะจะทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
 ทำให้ถุงยางอนามัยแตกขาดง่าย ยกเว้นซิลิโคน ออยล์ ซึ่งเป็นสารหล่อลื่นที่ละลายในน้ำมันระเหยยาก ไม่มีปฏิกิริยากับสารอื่น ๆ และไม่ทำให้ระคายเคืองใช้กับถุงยางอนามัยได้ดี
      การทดสอบปริมาณสารหล่อลื่นในถุงยางอนามัย จำนวน 60 ตัวอย่าง โดยสำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จำแนกเป็น                ถุงยางอนามัยยี่ห้อต่างๆ ของบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทย 5 แห่ง และตัวอย่าง                ถุงยางอนามัยแจกฟรีของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งผลการทดสอบปริมาณสารหล่อลื่น โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยได้ ดังนี้ 527 , 402 , 543 , 474 , 547 และ 497 มิลลิกรัม ตามลำดับ
                       อย่างไรก็ตามมาตรฐานถุงยางอนามัย มอก.625 – 2548 ของกระทรวงอุตสาหกรรม       และมาตรฐานสากล ISO 4074 : 2002 ไม่ได้กำหนดว่าควรจะใส่สารหล่อลื่น                 มากน้อยเท่าไร มีกำหนดเพียงวิธีทดสอบปริมาณสารหล่อลื่น ดังนั้นการใส่ปริมาณ       สารหล่อลื่นจึงขึ้นกับผู้ผลิตเป็นผู้กำหนด ส่วนมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดปริมาณซิลิโคน ออยล์ 550 มิลลิกรัม +/- 150 มิลลิกรัม หรือ 400 – 700 มิลลิกรัม 
                     ทั้งนี้ถุงยางอนามัยที่จำหน่ายรวมถึงถุงยางอนามัยแจกฟรีของกระทรวงสาธารณสุข         เป็นถุงยางอนามัยที่ใส่สารหล่อลื่นทั้งหมดและผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานแล้ว
 นางจุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์               กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการทดสอบโดยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์        สามารถยืนยันได้ว่าปริมาณสารหล่อลื่นในถุงยางอนามัยของทุกยี่ห้อมีปริมาณเพียงพอ ถึงแม้ว่าปริมาณสารหล่อลื่นที่ผู้ผลิตใส่ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว แต่หากมีการรั่วซึมของซองบรรจุ อาจทำให้สารหล่อลื่นรั่วซึมออกไป 
 ดังนั้น หากผู้ใช้รู้สึกว่าถุงยางอนามัยนั้นมีสารหล่อลื่นไม่เพียงพอ ก็สามารถหาสารหล่อลื่นมาทาเพิ่มได้             ตามที่กล่าวไว้แล้วและควรเลือกใช้เฉพาะชนิดที่ละลายน้ำ แต่ไม่ควรใช้สารหล่อลื่น ที่ละลายในน้ำมัน ซึ่งมีความเสี่ยงมากในการทำลายคุณภาพถุงยางอนามัย ทำให้ ถุงยางอนามัยแตกขาดง่ายขึ้น
 ส่วนกล่องบรรจุถุงยางอนามัยหรือฉลากกำกับ จะมีคำเตือนเกี่ยวกับการใช้สารหล่อลื่นเพิ่มเติมอยู่แล้วว่าควรใช้สารใดและไม่ควรใช้สารใด
 อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และป้องกันการตั้งครรภ์ อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ถุงยางอนามัยควรฉลากและใช้ให้ถูกวิธี ใช้ถุงยางอนามัยที่ยังไม่หมดอายุ เก็บถุงยางอนามัยในที่ที่เหมาะสม เช่น เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น              ไม่ถูกแสงแดดหรือความร้อน อย่าเก็บถุงยางอนามัยในกระเป๋าสตางค์หรือกระเป๋ากางเกงด้านหลัง เพราะหากมีการกดทับจะทำให้ถุงยางอนามัยฉีกขาดได้

อ้างอิง: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20110119/372809/สธ.ทดสอบถุงยางอนามัย.html


จามจุรีเกมส์ไฮเทคใช้ Social Network Phoneกระแสการใช้ Social Network จากโทรศัพท์มือถือกลายเป็นเรื่องใหม่และเปลี่ยนแปลงการสื่อสารของโลกปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง นักธุรกิจแชทกันผ่านเครือข่ายตกลงธุรกิจระหว่างกัน วัยรุ่นแชร์ไฟล์ หรือรูปภาพขึ้น Facebook เว็บไซต์หาเพื่อนชื่อดังเพื่อให้กลุ่มเพื่อนตัวเองรู้ว่าไปทำอะไรมา โดยที่เพื่อนทั้งหลายก็มาพูดคุยสนุกสนานกันได้ต่อแม้จะอยู่ที่ไหนในโลกก็ตาม ฯลฯ โลกของการสื่อสารยุคใหม่หมุนเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจริงๆ
          นอกจากชีวิตทั่วไปจะถูกกระแสการเปลี่ยนแปลงโหมกระหน่ำแล้ว โลกของกีฬาก็ได้ปรับตัวและนำ Social Network มารับใช้อย่างเต็มตัว ถ้าจะบอกว่า จามจุรีเกมส์ หรือกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38 ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 15-22 มกราคมนี้ คือมิติใหม่ของการแข่งขันกีฬาที่มี Social Network เข้ามาเป็นเครื่องมือสื่อสารหลัก และเป็นครั้งแรกทั้งของไทยและของโลก คงจะไม่ดูเกินเลยไป
  จุฬาฯ เจ้าแรกของโลก ใช้ Social Network สื่อสาร
          หากย้อนกลับไปที่การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยที่จุฬาลงกรณ์เป็นเจ้าภาพเมื่อหลายปีก่อน ที่แห่งนี้เคยเป็นจุดกำเนิดของการนำเพจเจอร์ ที่เป็นระบบส่งข้อความสั้นผ่านระบบรวมจากศูนย์กลาง มาเป็นจุดกระจายข่าวสารไปยังเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่หลังจากที่ระบบสื่อสารด้วยเพจเจอร์สิ้นยุคไปด้วยการแทนที่ของโทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสารที่เป็นหลักกลับยังเป็นเครื่องวอล์คกี้ทอล์คกี้ที่มีข้อจำกัดมากมายแต่ยังคงจุดเด่นที่ความมีเสถียรภาพในการสื่อสารแบบกลุ่มนั่นเอง
          มาถึงยุคปัจจุบัน Social Network ที่รวบรวมการนำเทคโนโลยีต่างๆ มากมายมาประยุกต์ใช้ ได้ทำให้การสื่อสารของคนไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป ขอเพียงมีอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐานรองรับ โปรแกรมแอพพลิเคชันมากมายจะทำให้ผู้ที่ใช้ไร้พรมแดนไร้ข้อจำกัด สิ่งเดียวที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันคือ เครื่องมือที่พกพา Social Network ไปกับตัว
          ในบรรดาเครื่องมือทั้งหมด สิ่งที่พบเห็นกันมากที่สุดก็คือ โทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือยุคใหม่ที่เรียกว่า Smart Phone เพราะโทรศัพท์จำพวกนี้มีระบบปฏิบัติการที่เอื้อต่อการสื่อสารยุคใหม่ ทั้งระบบโทรศัพท์ ระบบแชร์ไฟล์ภาพ เสียง วิดีโอ ฯลฯ ระบบ Chat และอื่นๆ แต่โทรศัพท์แต่ละรุ่นแต่ละแบบก็มีความโดดเด่นที่แตกต่างกันไป กลายเป็นจุดขายที่ผู้ซื้อสามารถเลือกใช้ตามความต้องการได้
          แต่สำหรับการนำมาใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะกีฬาระดับประเทศ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยต้องถือว่าขนาดของการแข่งขันนั้นไม่ได้เล็กแต่อย่างใดเลย เพราะมีตัวแทนการแข่งขันจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วม มีสถานที่และสนามแข่งจำนวนมากที่ต้องสื่อสารระหว่างกัน
          โจทย์ใหญ่ของระบบการสื่อสารในการแข่งขันกีฬาแบบเดิมๆ ที่เกิดขึ้นคือ ระบบที่สามารถทำได้คือ การรายงานจากจุดต่างๆ จากหนึ่งจุดเข้าไปที่ศูนย์กลาง และศูนย์กลางจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยการสื่อสารต่อจุดไปยังจุดที่เกี่ยวข้อง โดยที่จุดอื่นๆ จะไม่สามารถรับทราบ หรือเรียนรู้การแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้เลย
          แม้กระทั่งการสื่อสารผ่านระบบวอล์คกี้ทอล์คกี้ ที่แม้จะพยายามจะทลายกำแพงปัญหานี้ แต่ทั้งข้อจำกัดจากการสื่อสารด้วยเสียงเพียงอย่างเดียว และข้อจำกัดทางด้านคลื่นที่สั้นทำให้ระยะทางการสื่อสารมีข้อจำกัด ทำให้กำแพงของปัญหาถูกแก้ไขได้แค่เพียงบางส่วนเท่านั้น

Social Network ทลายกำแพงตอบโจทย์การสื่อสารทุกรูปแบบ
          หากบอกว่าโจทย์เหล่านี้มือถือยุคใหม่อย่าง SPRiiiNG ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาให้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ก็เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินเลยแต่อย่างใด
          บริษัท สปริง เทเลคอม ผู้ผลิตแพลตฟอร์ม SPRiiiNG ที่โดดเด่นในด้านการ Chat โดยมีโทรศัพท์มือถือ SPRiiiNG รุ่น Smile ซึ่งเป็น The Social Network Phone ตัวจริงของโลกตัวแรกได้เริ่มเปิดตลาดในเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 24 มกราคมนี้ ได้กระโดดเข้ามาสนับสนุนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38 หรือจามจุรีเกมส์ โดยมุ่งมั่นว่าสิ่งที่สนับสนุนครั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการสื่อสารในการแข่งขันกีฬา และในชีวิตประจำวันของคนไทยต่อไป
          สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นก็คือ จะมีอาสาสมัครจากนิสิตจุฬาฯ กว่า 100 ชีวิต ห้อยคอด้วยโทรศัพท์มือถือ SPRiiiNG พร้อมซิลิโคนใสสีชมพู แสดงความเป็นจุฬาได้อย่างชัดเจน และทั้งหมดจะสื่อสารกันผ่านระบบ SPRiiiNG ที่จะทำให้การแข่งขันครั้งนี้ราบรื่นที่สุด
          ทันทีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ อาสาสมัครสามารถเข้าสู่ระบบ Chat ของ SPRiiiNG พูดคุยกับทั้งศูนย์กลางและสื่อสารกันเองจากบุคคลสู่บุคคล หรือบุคคลสู่กลุ่มได้ หรือเป็นระบบ Many to Many หาใช่ระบบ One to One หรือ One to Many อีกต่อไป
          ตัวอย่างการรายงาน เช่น การรายงานผลการแข่งขัน ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด อาสาสมัครที่อยู่สนามหนึ่ง เมื่อทราบผลการแข่งขันก็กดผลสกอร์ที่เกิดขึ้นส่งเข้าไปในกลุ่ม ทั้งศูนย์กลางและเจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถทราบผลสกอร์ดังกล่าวโดยทันที หรือการรายงานสภาพการจราจรภายในศูนย์แข่งขันกีฬา จะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ ทันท่วงที
          นอกจากการพิมพ์แบบ Chat แล้ว โทรศัพท์มือถือของ SPRiiiNG ยังทำให้อาสาสมัครสามารถส่งไฟล์เสียงผ่านเครือข่าย ส่งรูปเหตุการณ์ทั้งสำคัญทั้งภายในและภายนอกสนามเข้าสู่ศูนย์กลางและภายในกลุ่มอาสาสมัครด้วยกันเองได้ รวมถึงไฟล์ภาพเคลื่อนไหวอย่างวิดีโอ ตัวอย่างเช่น อาสาสมัครอาจพบตั๋วผีเกิดขึ้นจากสนามแข่งขันบางแห่ง ก็สามารถส่งรูปของตั๋วผีดังกล่าวเป็นตัวอย่างให้อาสาสมัครคนอื่นได้รับทราบเพื่อระวังป้องกันต่อไปได้
          ระบบโทรศัพท์ SPRiiiNG ที่ใช้ในการแข่งขันจามจุรีเกมส์ครั้งนี้ ยังเน้นการใช้ Social Network อย่างเต็มรูปแบบ จากการที่อุปกรณ์ภายในเครื่องมี GPS ติดตั้งอยู่ในตัว เชื่อมต่อกับระบบแผนที่ของ Google ผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.1 ที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง ทำให้การใช้งานมีความทันสมัยอย่างมาก เพราะนอกจากระบบศูนย์กลางจะสามารถเห็นตำแหน่งของทุกเครื่องจากหน้าจอแล้ว อาสาสมัครทุกคนก็มีข้อมูลนี้อยู่เช่นกัน ดังนั้นการสื่อสารเพื่อบอกกล่าวและจัดการปัญหาในจุดที่อาสาสมัครนั้นๆ ประจำอยู่จะทำได้ง่ายต่อการจัดการ และการวางแผนทั้งระบบอีกด้วย
 

SPRiiiNG ลดค่าใช้จ่ายจามจุรีเกมส์
          สิ่งที่โทรศัพท์มือถือ Social Network ตัวจริงเชื้อสายไทยอย่าง SPRiiiNG รายนี้ได้ทำให้เห็นแล้วอย่างหนึ่งก็คือ การจัดการกับระบบ Chat เป็นกลุ่มที่มีมากกว่า 100 คน ที่เคยถือเป็นข้อจำกัดของระบบ Chat ของต่างชาติจะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป และรูปแบบการ Chat ที่เอื้อต่อคนไทย ใช้งานง่ายโดยสามารถเรียนรู้การใช้งานภายในครึ่งชั่วโมง (สำหรับคนที่ไม่เคยใช้งานระบบ Chat ในโทรศัพท์มือถือมาก่อน)
          ที่สำคัญคือการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ระบบเสียงผ่านการโทรศัพท์ไร้สายตามปกติ มาเป็นระบบ Data หรือการส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน เพราะหากใช้ระบบโทรศัพท์ปกติจะเสียค่าใช้จ่ายในการสื่อสารจำนวนมากตามมา ซึ่งเมื่อหันมาใช้ SPRiiiNG เป็นระบบสื่อสารโดยมีแพคเกจเฉพาะที่ทำไว้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออยู่แล้ว ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารลดลงกว่า 80%
          ในการแข่งขันจามจุรีเกมส์ครั้งนี้ SPRiiiNG ได้จับมือกับ TRUE ในการให้บริการระบบ EDGE และ 3G ผ่านมือถือของ SPRiiiNG โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามผู้ใช้งาน SPRiiiNG โดยทั่วไปสามารถเข้าสู่ระบบ SPRiiiNG ด้วยแพคเกจอินเทอร์เน็ตกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั่วไปในราคาไม่ถึง 120 ต่อเดือน
          ยิ่งไปกว่านั้นจากกระแสอินเทอร์เน็ตที่กล่าวถึงโทรศัพท์มือถือ SPRiiiNG อย่างร้อนแรง และมีความต้องการเป็นเจ้าของก่อนการเปิดตัวจำหน่ายจริงในปลายเดือนมกราคมนี้ ผู้ที่สนใจทุกท่านสามารถซื้อมือถือ SPRiiiNG รุ่น Smile ในราคา 5,990 บาท จากราคา 6,850 บาท และหากซื้อพร้อมกันจำนวน 5 เครื่อง สามารถซื้อเครื่องที่ 6 ได้ในราคา 1 บาท โดยจำกัดช่วงโปรโมชั่นนี้ถึงวันที่ 22 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่การแข่งขันจามจุรีเกมส์จบสิ้นลง โดยสามารถหาซื้อได้ที่บูทของ SPRiiiNG ด้านข้างของสนามฟุตบอลจุฬาฯ หรือสนามจุ๊บ

อ้างอิง: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20110115/372074/จามจุรีเกมส์ไฮเทคใช้-Social-Network-Phone.html


โปรแกรมคำนวณค่าไฟ ช่วยพ่อบ้านสบายกระเป๋าแต่ละเดือนต้องควักเงินในกระเป๋าเพื่อจ่ายค่าไฟฟ้าโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวเลยว่า เครื่องไฟฟ้าตัวไหนสวาปามกระแสไฟฟ้ากันมากน้อยแค่ไหน ทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงช่วยกันพัฒนาโปรแกรมคำนวณค่าไฟฟ้ารู้ผลภายใน 5 นาที สามารถวางแผนประหยัดค่าไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง
 ผศ.ดร.นิตย์ เพ็ชรรักษ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงที่มาของโปรแกรมคำนวณค่าไฟฟ้าว่า เนื่องจากค่าไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นแบบอัตราก้าวหน้า ถ้ายิ่งใช้มาก ค่าไฟฟ้ายิ่งสูงขึ้น
 ขณะเดียวกัน ประชาชนจำนวนมากที่ยังไม่ทราบว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละเครื่องกินไฟกี่วัตต์ และไม่ทราบสัดส่วนของค่าไฟที่เกิดจากอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทำให้ประชาชนที่พยายามลดการใช้ไฟฟ้าไม่ทราบว่ากิจกรรมที่ตนเองทำการประหยัดนั้นจะมีประสิทธิภาพในการลดค่าไฟได้จริงหรือไม่ 
 ประเด็นดังกล่าว ทำให้นายศรชัย บัวแก้ว และนายจาตุรงค์ ปุริสาร นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พัฒนา “โปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทผู้อยู่อาศัย” (Program for Electricity Bill Computation) โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายพลังงาน ปี 2550 
 ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจถึงรูปแบบการคิดค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกันก่อน นายศรชัยอธิบายว่า อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับประเภทบ้านอยู่อาศัยประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่ 1.ค่าบริการ (บาท/เดือน) 2.ค่าไฟฟ้าฐาน ที่คิดจากพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) 3.ค่าไฟฟ้าผันแปรหรือค่าเอฟที (บาท/หน่วย) 4.ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะเป็นผู้รับภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคิดจากค่าไฟฟ้าฐานรวมกับค่าเอฟที
 “คำศัพท์เฉพาะและความซับซ้อนต่างๆ ทำให้หลายคนไม่เคยคำนวณค่าไฟ รอดูอย่างเดียวว่า แต่ละเดือนบิลค่าไฟจะมา เราจึงพัฒนาโปรแกรมคำนวณค่าไฟฟ้าที่นำค่าบริการ ค่าไฟฟ้าฐาน ค่าไฟฟ้าผันแปร ซึ่งเป็นตัวแปรในการคำนวณค่าไฟฟ้ามาเป็นสูตร โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องจำให้ยุ่งยาก เพียงแค่เปิดโปรแกรมผ่าน www.dpu.ac.th/eng/ee/cal/index.php “ นายศรชัยกล่าว
 เมื่อเปิดหน้าจอไปยังโปรแกรม ผู้ใช้จะต้องลงรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตนใช้อยู่ ว่ามีอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ ปริมาณการใช้กี่ชั่วโมงต่อวัน และใช้กี่วันต่อเดือน ในเวลาไม่ถึง 5 นาที ระบบจะคำนวณ
ค่าไฟฟ้าที่ประมาณการจากการใช้งานจริง และมีข้อแนะนำการประหยัดไฟฟ้าแนบมาด้วย
 อย่างไรก็ตามโปรแกรมดังกล่าวยังมีข้อจำกัดตรงที่สามารถใช้คำนวณค่าไฟได้เฉพาะในครัวเรือนเท่านั้น ยังไม่สามารถคำนวณที่เป็นสถานประกอบการ หรือในภาคธุรกิจได้ โดยทีมนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กำลังศึกษาข้อมูลและพัฒนาเพื่อใช้คิดคำนวณได้ในภาคธุรกิจ
 “โปรแกรมคำนวณค่าไฟฟ้าฟ้านี้ ต้องการให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นและใช้อย่างประหยัด โดยจะสามารถวางแผนการใช้ไฟฟ้าในระยะยาวได้” ผศ.ดร.นิตย์กล่าว ก่อนเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาจะเห็นว่าหน่วยงานรัฐรณรงค์ให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างประหยัด และรู้จักคุณค่าของพลังงาน ซึ่งประชาชนก็ให้ความร่วมมืออย่างดี

อ้างอิง; http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20110130/374494/โปรแกรมคำนวณค่าไฟ-ช่วยพ่อบ้านสบายกระเป๋า.html


คอมพิวเตอร์ช่วยสอน


คอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาศิลปะ  เรื่องทัศนศิลป์ นี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสอนของครู ซึ่งได้ผ่านการทดลองใช้  ปรับปรุง  และหาประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว  ซึ่งในบทเรียนประกอบด้วยห้าเรื่องหลักได้แก่ วาดเส้น สีน้ำ สีพาสเทล ลายไทย จิตกรรมไทย นอกจากนี้ยังมีแบบฝึกหัด แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน  สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เนื้อหาสาระ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆจะช่วยให้ครูผู้สอนสามารถถ่ายทอดเนื้อหาประกอบกับการให้นักเรียนได้ฝึกทักษะพื้นฐานก่อนนำไปปฏิบัติจริง  จัดเป็นการวางแผนการทำงานอย่างประหยัด  เร้าความสนใจให้กับนักเรียน  สามารถรวบรวมแหล่งศิลปะต่างๆมาไว้ในห้องเรียน ทำให้นักเรียนเห็นคุณค่า  ถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ  ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
 
 
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ใช้โปรแกรมPowerPoint ในการออกแบบและไม่ได้มีจุดประสงค์ทางการค้าใดๆทั้งสิ้น

ตัวอย่างปกCDคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 
 
ตัวอย่างเนื้อหาบางส่วนในCD

 


อ้างอิง: http://manit2008.exteen.com/

การเรียกโปรแกรม Multimedia ToolBook II                       
                        ก่อนที่จะเรียกใช้งานโปรแกรมควรมีการวางแผนก่อนว่าจะเก็บข้อมูลไว้ที่ใด และต้องใช้ภาพหรือเสียงประกอบอะไรบ้าง ให้นำมาไว้ในห้องเดียวกันเสียก่อน เพื่อความสะดวกในการแก้ไขภายหลังและไม่เกิดข้อผิดพลาด ในตอนนี้ให้สร้างโฟลเดอร์ชื่อว่า mycai ในไดรฟ์ D: ก่อนครับ
ขั้นตอนการสร้างโฟลเดอร์
1.  ดับเบิ้ลคลิก My Computer
2.  ดับเบิ้ลคลิกที่ไดรฟ์ D:
3.  คลิกปุ่มขวาของเมาส์ตรงพื้นที่ว่าง ๆ
4.  จะปรากฏเมนู ให้เลือก New
5.  เลือก Folder
6.  จะปรากฏโฟลเดอร์ใหม่ ให้พิมพ์ชื่อโฟลเดอร์ เป็น mycai แล้วกดปุ่ม Enter
ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรม ดังภาพประกอบ
1.  คลิกปุ่ม Start
2.  เลือก Programs
3.  เลือก ToolBook II Instructor
4.  เลือก ToolBook II Instructor

5.  จะปรากฏหน้าต่าง ดังภาพประกอบ

6.   ในกรณีที่เราต้องการสร้างหนังสือใหม่ ให้เลือกหัวข้อ New Blank Book โดยการคลิกที่ปุ่มที่เป็นรูปหนังสือ    จะได้หนังสือเล่มใหม่ที่มีหน้าหนังสือเปล่า ๆ 1 หน้า การที่จะทราบว่าหนังสือของเรามีกี่หน้าให้สังเกตที่มุมล่างขวา  เช่น ตัวอย่างนี้ มี 2 หน้าและตอนนี้อยู่ที่หน้าที่ 1    เป็นต้น

อ้างอิง© แหล่งเรียนรู้ไอที All Right Reserved.